วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.




เนื้อหาที่เรียน

       การจัดประสบการณ์ การเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหา โดยครูตั้งปัญหาให้เด็กได้ทดลองลงมือทำ แก้ปัญหา และสร้างผลงานของตนเอง โครงส้รางมีดังนี้  

      วิเคราะห์แนวคิด---ศึกษาวัสดุที่มีอยู่---ลงมือทำ (เกิดการแก้ปัญหา)---นำเสนอ

ตัวอย่างกิจกรรม 
     จัดกิจกรรมเกี่ยวกับรูปทรง ให้เด็กคุ้นเคยกับรูปทรงต่างๆผ่านการเล่นบล็อก เกมส์การศึกษา หรือสิ่งต่างๆรอบตัว 
-ครูทำรูปแบบที่ให้เด็กเห็นภาพจริง เช่น การตัดไม้มาต่อเป็นรูปร่างแล้วเอาดินน้ำมันเป็นฐานยึด
-เด็กยังไม่เห็นด้านของรูปทรงนั้นๆ วิธีการเรียนรู้ คือ ครูให้เด็กตัดกระดาษมาแปะ ตามด้านของรูปทรงนั้นๆ เพื่อให้เด็กเห็นภาพชัดขึ้น เกิดทักษะต่างๆ 








ทักษะ / ระดมความคิด

-ทักษะการแก้ปัญหา
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการสังเกต
-ทักษะรูปทรง
-ทักษะการตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้ 

-วิธีการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กนั้นเราต้องดึงสิ่งที่เด็กมีออกมา แล้วนำมาจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็กให้เด็ก สามารถดึงทุกอย่างมาบูรณาการในคณิตศาสตร์ได้ 

บรรยากาศในห้องเรียน
    
   โต๊ะ เก้าอี้ สะอาดเรียบร้อย 

การจัดการเรียนการสอน
   
      มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหา

วิเคราะห์ตนเอง
   
      ดิฉันตั้งใจเรียนและมีส่วนร่วมในการตอบคำถามมากขึ้น เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น 







บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.



เนื้อหาที่เรียน

        การจัดประสบการณ์เรื่อง รูปทรง
การจัดประสบการณ์จัดให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เด็กนำแผ่นกระดาษมาต่อให้เป็นรูปทรงต่างๆโดยใช้ 2 แผ่น และ 3 แผ่น สามารถเป็นรูปทรงอื่นๆได้อีกหลายรูป ก่อนที่จะให้เด็กวาดลงในกระดาษแล้วตัดออกมา รูปทรงที่ตัดออกมาจะเป็นรูปทรงเดียวกัน เป็นการจัดการเรียนการสอนให้เด็กสืบเสาะ ให้เด็กได้ลงมือทำอย่างอิสระ และเลือกตัดสินใจด้วยนตน

-วิธีการเรียนรู้ หมายถึง การให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
-พัฒนาการ หมายถึง ความสามารถของเด็กที่บ่งบอกว่าเด็กจะทำอะไรได้บ้างในระดับอายุ 
-การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลังจากเด็กได้รับความรู้ 


การประยุกต์ใช้ 

- จัดประสบการ์ให้แก่เด็กได้โดยต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย ให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด

บรรยากาศในห้องเรียน
     
   เพื่อนๆทุกคนพร้อมการการเรียนมาเรียนพร้อมเพียงกัน ห้องเรียนสะอาดอากาศดี

การจัดการเรียนการสอน

อาจารย์ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ และเน้นย้ำสิ่งสำคัญที่เราต้องคำนึงในการจัดประสบการณ์ มีเตรียมการเรียนการสอน 

วิเคราะห์ตนเอง

ตั้งใจเรียนมากขึ้น ตอบคำถามมากขึ้น จดบันทึกเนื้อหา และมีปฎิสัมพันธ์กับอาจารย์






วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.



เนื้อหาที่เรียน
  - การจัดประสบการณ์เรียนรู้การทำปฎิทินวันเกิด เกิดทักษะเรื่องตัวเลขฮินดูอาราบิก การนับ การเรียงลำดับ สี 
  - การเรียนรู้เกิดได้หลังจากเด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง
  - วิธีการเรียนรู้ คือ การลงมือปฎิบัติ
  - เครื่องมือในการเรียนรู้ คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 

ประเภทสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
    - การจับคู่
    - ภาพตัดต่อ
    - สังเกตรายละเอียดภาพ
    - โดมิโน้
    - ความสัมพันธ์ 2 แกน
    - เรียงลำดับ
    - จัดหมวดหมู่ / กลุ่ม
    - เกมส์พื้นฐานการบวก

นำเสนอของเล่นเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 



 อาจารย์สอนร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยและให้นักศึกษาร้องตาม

เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

เพลงจัปปู
หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า     จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
หก เจ็ด แปด เก้าสิบ       ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

เพลงนกกระจิบ 
นั่นนกบินมาลิบลิบ
นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
อีกฝูงบินล่องลอยมา
หก เจ็ด แปด เก้า สิบตัว

เพลงนับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน    มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว      มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า          นับต่อมา หก เจ็ด แปดเก้าสิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีรอ    นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

เพลง บวก - ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ    ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ    ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ     หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ    ดูซิเออเหลือเพียงสี่ใบ

เพลงแม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง     ไข่วันละฟองไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน     หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
(นับต่อไปเรื่อยๆ)

เพลงลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้     น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป     นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
(ลดจำนวนลงไปตามลำดับ)

       ร้องเพลงเสร็จอาจารยืก็ให้นักศึกษาแต่งเพลงเองโดยใช้เพลง บวก-ลบ เป็นหลักในการแต่งแบ่งกลุ่มในการแต่ง
                                                          เพลง บวก-ลบ
ห้องฉันมีหมอนสองใบ    แม่ให้อีกหนึ่งใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ    ดูซิเธอรวมกันได้สามใบ
ห้องฉันมีหมอนสามใบ     หายไปหนึ่งใบนะเธอ
ฉันหาหมอนแล้วไม่เจอ    ดูซิเออเหลือเพียงสองใบ

ทักษะ / ระดมความคิด
-ทักษะการทำงานร่วมกัน
-การพูดหน้าชั้นเรียน
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการแก้ปัญหา

การประยุกต์ใช้ 
-นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็กและใช้เทคนิคต่าๆสอนเด็ก การร้องเพลงเพื่อดึงดูดความสนใจ

บรรยากาศในห้องเรียน
อุปกรณ์การเรียนการสอนพร้อม ห้องเรียนสะอาด

การจัดการเรียนการสอน
มีการเตรียมการเรียนการสอน อธิบาย ให้คำแนะนำต่างๆ ร้องเพลงเพราะน่าฟัง

วิเคราะห์ตนเอง
มีความรู้เข้าใจมากขึ้น จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม




เรียนชดเชย

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เวลา 14.30 - 17.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
       ความรู้คณิตศาสตร์เรื่องของเวลาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นการทำ   ตารางเวลาตื่นนอน เด็กได้รับประสบการณ์เรื่องเวลา ก่อน - หลัง    และเด็กสามารถได้ทักษะทางคณิตศาสตร์ ดังนี้
    -เรื่องการนับ
    -จำนวน
    -ตัวเลขฮินดูอารบิก
    -การเปรียบเทียบ
    -การแบ่งกลุ่ม
    -เรื่องเวลา


    ทักษะ / ระดมความคิด
    -ทักษะการตอบคำถาม
    -ทักษะการคิดวิเคราห์

    การประยุกต์ใช้ 
         จัดการเรียนการสอนประสบการณ์เรื่อง เวลา ให้เด็กได้เข้าใจ มีความรู้เกี่ยวกับเวลา การจัดประสบการณ์จากความรู้เดิมของเด็กไปสู่ความรู้ใหม่ ในการใช้ชีวิตประจำวัน

    บรรยากาศในห้องเรียน
     อุปกรณ์พร้อมในการเรียนการสอน

    การจัดการเรียนการสอน
    นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน อธิบายละเอียดและยกตัวอย่างประกอบ

    วิเคราะห์ตนเอง
    ตั้งใจเรียนจดบันทึกสิ่งสำคัญและคอยตอบคำถาม

    วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559



    บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

    วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2559
    เวลา 08.30-12.30 น.


    เนื้อหาที่เรียน

                อาจารย์ให้นำกระดาษมาแบ่งครึ่งเขียนชื่อของเราลงไป และอาจารย์ทำตารางนักเรียนมา/ไม่มา ให้เราเอาชื่อออกไปติดบนกระดาษในตารางจะมี ลำดับ มา ไม่มา จำนวนคนทั้งหมด อาจารย์บอกว่าการทำแบบนี้เราจะสามารถสอนให้เด็กได้รู้ถึง จำนวนเต็ม(จำนวนเพื่อนทั้งหมด) การนับ การบวก การลบ ความรู้เลขอารบิก การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า แต่ถ้าเด็กในห้องเยอะให้แบ่งเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มวงกลม กลุ่มสามเหลี่ยม กลุ่มสี่เหลี่ยม เป็นต้น การแบ่งกลุ่มแบบนี้ก็จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของเรขาคณิต
             
              จากนั้นอาจารย์ก็ให้เพื่อนออกไปนำเสนองาน3 คน ตามลำดับเลขที่าจารย์บอกเรื่องการแนะนำตัวหน้าห้องให้พูดว่า เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆทุกคน ชื่อ จะนำเสนออะไร ใครเป็นผู้แต่งและนำมาจากที่ไหน เมื่อเพื่อนรายงานจบอาจารย์ก็สอนร้องเพลงที่สอนเรื่องของคณิตศาสตร์ไปในเพลงด้วย










    ทักษะ/ระดมความคิด

    -ทักษะการแก้ปัญหา เช่น อาจารย์ถามว่าถ้าเด็กในห้องเยอะจำทำอย่างไร คำตอบคือการแบ่งกลุ่ม
    -ทักษะในการคิดวิเคราะห์
    -ทักษะการตอบคำถาม

    การนำไปประยุกต์ใช้

          การเรียนรู้ของเด็กควรใช้สิ่งที่เป็นกิจวัตรประจำวัน ให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  มีการเชื่อมโยงความรู้เดิม และให้เด็กได้ใช้สื่อจริงให้เด็กได้เรียน

    บรรยายในห้องเรียน

           ตอนแรกไฟดับทำให้ต้องเปิดหน้าตาและผ้าม่าน พอไฟมาก็ได้เปิดแอร์และสื่อเทคโนโลยีอาจารย์บรรยายการสอนได้ดี
    มีตัวอย่างประ

    การจัดการเรียนการสอน

           อาจารย์มีการเตรียมการสอน มีคำถามให้เราได้คิดและวิเคราะห์ สอนการร้องเพลงและเสริมสร้างคุณธรรม

    วิเคราะห์ตนเอง

          ตั้งใจเรียนและพยายามคิดตามสิ่งที่อาจารย์สอน และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมา