เมื่อถึงเวลาต้องเข้าชั้นเรียนวิชา “คณิตศาสตร์” เชื่อได้เลยว่า เด็กบางคนอาจจะเกิดอาการเซ็งกับวิชาดังกล่าว ด้วยเหตุผล หรือความเชื่อที่สั่งสมกันมาว่า เป็นวิชาที่ยาก ปวดหัว มีแต่ตัวเลข และไม่สนุก ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องหนักใจไม่ใช่น้อย เพราะหลังกลับจากโรงเรียน การบ้านวิชาเลขมักเป็นวิชาที่เด็กไม่ค่อยสนใจหยิบขึ้นมาทำสักเท่าไร และมีผู้ปกครองมีเคล็ดลับการเลี้ยงลูกมาฝาก
“ จะให้ลูกทำในสิ่งที่รัก ไม่ต้องการให้ลูกเป็นคนเก่งเรียน แต่จะสอนให้ลูกเก่งกิจกรรมด้วย เพราะเชื่อว่าจะเป็นตัวสร้างทักษะการใช้ชีวิต รู้จักคน และสังคมได้มากขึ้น ไม่ใช่เก่งแต่เอาตัวเองไม่รอด”
และการสอนคณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต้อง1+1อย่างเดียวแต่เป็นการสอนในชีวิตประจำวันเช่น
“จะใช้สิ่งที่อยู่รอบตัวลูกทั้งหมด มาดัดแปลง และทำหลักสูตรคณิตศาสตร์ไว้สอนลูก ไม่ว่าจะอยู่ในบ้าน หรือออกไปเที่ยวนอกบ้าน เช่น เวลาเล่านิทานจะสอนให้ลูกนับตัวละครที่อยู่ในเรื่อง หรือเวลาไปซื้อของ ข้างนอกก็จะให้ลูกมีส่วนร่วมกับเราด้วย อาทิ แม่ซื้อลูกอมชิ้นละ 2 บาท มีเงินอยู่ 10 บาท แม่จะได้ลูกอมกี่ชิ้น ซึ่งเราจะเอาตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้องหมด เอาให้เขาเห็นภาพ ซึ่งก็ให้ความร่วมมือดีแต่ถ้าบอกว่าลูกต้องบวกอันนี้กับอันนี้นะ ลบอันนี้สิ เขาจะคิดนานมาก แล้วรู้สึกเบื่อทันที”
“จะใช้สิ่งที่อยู่รอบตัวลูกทั้งหมด มาดัดแปลง และทำหลักสูตรคณิตศาสตร์ไว้สอนลูก ไม่ว่าจะอยู่ในบ้าน หรือออกไปเที่ยวนอกบ้าน เช่น เวลาเล่านิทานจะสอนให้ลูกนับตัวละครที่อยู่ในเรื่อง หรือเวลาไปซื้อของ ข้างนอกก็จะให้ลูกมีส่วนร่วมกับเราด้วย อาทิ แม่ซื้อลูกอมชิ้นละ 2 บาท มีเงินอยู่ 10 บาท แม่จะได้ลูกอมกี่ชิ้น ซึ่งเราจะเอาตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้องหมด เอาให้เขาเห็นภาพ ซึ่งก็ให้ความร่วมมือดีแต่ถ้าบอกว่าลูกต้องบวกอันนี้กับอันนี้นะ ลบอันนี้สิ เขาจะคิดนานมาก แล้วรู้สึกเบื่อทันที”
อย่างไรก็ตาม ทุกครอบครัวไม่จำเป็นต้องให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์ หรือส่งให้เรียนเพื่อให้เด็กเป็นเลิศ แต่ขอให้ทุกครั้งที่เจอ หรือต้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เด็กไม่วิ่งหนีก็พอ ดังนั้นทุกกิจกรรมที่ทำกันในครอบครัว สามารถเอาไปสร้างเป็นโจทย์ได้หมด ทำให้เด็กสนุก และมีทัศนคติกับวิชาดังกล่าวในทางบวกมากขึ้น
นอกจากนี้เมื่อลูกโตขึ้น ระดับขั้นของคณิตศาสตร์ก็จะเป็นนามธรรมมากขึ้นด้วย พ่อแม่จึงควรเลือกใช้สื่อที่เป็นรูปธรรม หรือสิ่งที่จับ หรือสัมผัสต้องได้ หรือถ้าหาไม่ได้ อาจจะใช้เป็นภาพมาสอนลูกแทน เพราะเด็กจะเข้าใจ และเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น มากกว่าเรียนกับตัวเลขเพียงอย่างเดียว
การสร้างลูกน้อยให้รัก “ตัวเลข” ตั้งแต่เล็ก จะเป็นสะพานเชื่อมให้เด็กมีทัศนคติในทางบวกต่อวิชา “คณิตศาสตร์” ในวัยถัดมาได้เป็นอย่างดี เพียงเริ่มต้นด้วยความใส่ใจ และความสนใจจากครอบครัว เท่านี้ก็จะไม่มีคำว่า “ยาก” ออกมาจากปากเด็กในชั้นเรียนคณิตศาสตร์อีกต่อไป แต่จะมีคำว่า “สนุก และอยากเรียน” ออกมาแทน
นอกจากนี้เมื่อลูกโตขึ้น ระดับขั้นของคณิตศาสตร์ก็จะเป็นนามธรรมมากขึ้นด้วย พ่อแม่จึงควรเลือกใช้สื่อที่เป็นรูปธรรม หรือสิ่งที่จับ หรือสัมผัสต้องได้ หรือถ้าหาไม่ได้ อาจจะใช้เป็นภาพมาสอนลูกแทน เพราะเด็กจะเข้าใจ และเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น มากกว่าเรียนกับตัวเลขเพียงอย่างเดียว
การสร้างลูกน้อยให้รัก “ตัวเลข” ตั้งแต่เล็ก จะเป็นสะพานเชื่อมให้เด็กมีทัศนคติในทางบวกต่อวิชา “คณิตศาสตร์” ในวัยถัดมาได้เป็นอย่างดี เพียงเริ่มต้นด้วยความใส่ใจ และความสนใจจากครอบครัว เท่านี้ก็จะไม่มีคำว่า “ยาก” ออกมาจากปากเด็กในชั้นเรียนคณิตศาสตร์อีกต่อไป แต่จะมีคำว่า “สนุก และอยากเรียน” ออกมาแทน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น