วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียน 

ครั้งที่ 3

วันศุกร์  ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559


***วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม***




บันทึกการเรียน 

ครั้งที่ 2

วันศุกร์  ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559


เนื้อหาที่เรียน

-    ก่อนเรียนอาจารย์ให้นักศึกษา Link บล็อกของนักศึกษาลงในบล็อกของอาจารย์
-   อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษา โดยส่งให้นักศึกษาคนแรกและการแจกกระดาษของนักศึกษาจะเป็นแบบหยิบเผื่อเพื่อนแถวเดียวกันและส่งต่อแถวถัดไป อาจารย์สั่งหยุดการแจกกระดาษ เรียกคืนมาแล้วเริ่มแจกใหม่แบบ 1:1 และอาจารย์จึงตั้งคำถามว่าทำไมอาจารย์ถึงให้แจกกระดาษแบบ 1:1 เพราะอะไรเราจึงต้องทำแบบนี้
-    ทำแผนความคิดเกี่ยวกับ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีหัวข้อใหญ่ๆดังนี้

       1.   การจัดประสบการณ์

       2. คณิตศาสตร์

       3. เด็กปฐมวัย


ทักษะ/การระดมความคิด
      
                  อาจารย์ตั้งคำถามว่าทำไมอาจารย์ถึงให้แจกกระดาษแบบ 1:1 เพราะอะไรเราจึงต้องทำแบบนี้ นักศึกษาต่างตอบตามความเข้าใจของตนเอง  เช่น เพื่อให้เด็กเรียนรู้การบวก การลบของจำนวนกระดาษ
            แล้วนักศึกษาก็ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ และอาจารย์ได้อธิบายถึงการแจกกระดาษแบบ 1:1 ว่าเพื่อให้เด็กทราบว่า กระดาษมากกว่าคน หรือคนมากกว่ากระดาษ และมีการแก้ปัญหาว่าถ้าคนมากกว่ากระดาษจะต้องทำเช่นไร เมื่อกระดาษไม่พอต้องนับคนที่ยังไม่ได้กระดาษว่าขาดอีกกี่แผ่น และมีอีกหลากหลายแนวคิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กให้เป็นเรื่องในชีวิตประจำวันได้

ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
            
             อากาศดี เพื่อนๆมาเรียนตรงต่อเวลา หน้าตาแจ่มใส อาจารย์ยิ้มแย้ม เรียนแบบมีความสุข

 การจัดการเรียนการสอน
      
             ตอนอาจารย์สอนอาจารย์จะสอดแทรกความรู้ที่นำไปใช้ได้จริงอยู่ในบทเรียนที่เรียนเสมอ
       และอธิบายการทำแผนความคิดได้ละเอียด เป็นระเบียบว่าเราควรเขียนหัวข้อควรเขียนไปตามเข็มนาฬิกา และอาจารย์ก็เขียนให้ดูเป็นตัวอย่าง
       
วิเคราะห์ตนเอง
               
            วันนี้ดิฉันตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายความหมายของการจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์ และเด็กปฐมวัย และจดบันทึกไว้เป็นแนวทางในการเรียน และได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถามที่อาจารย์ตั้งคำถาม


           

สรุปสื่อการสอนคณิตศาสตร์


สื่อการสอนคณิตคิดสนุก

            
             สื่อการสอนนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อการสอ­นทางเลือก เหมาะสำหรับเด็กอายุ 2 -3 ปีขึ้นไป มี

ทั้งหมด 4 บทเรียน โดยเน้นฝึกทักษะการใช้ตัวเลขแทนจำนวนสัตว์ หรือสิ่งของต่างๆ ที่พบเจอได้ใน

ชีวิตประจำวัน  จะสอนให้รู้จักจำนวนนับ1-10 ก่อนเพื่อเป็นพื้นฐาน   และสอนการเรียงลำดับจำนวนนับ
และการบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 และการลบจำนวนจัวจำนวนที่มีตัวตั้งไม่เกิน 9 โดยการสอนใช้รูปภาพเป็นสื่อในการนับ


สรุปบทความที่เกี่วข้องกับคณิตศาสตร์
          
           เมื่อถึงเวลาต้องเข้าชั้นเรียนวิชา คณิตศาสตร์” เชื่อได้เลยว่า เด็กบางคนอาจจะเกิดอาการเซ็งกับวิชาดังกล่าว ด้วยเหตุผล หรือความเชื่อที่สั่งสมกันมาว่า เป็นวิชาที่ยาก ปวดหัว มีแต่ตัวเลข และไม่สนุก ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องหนักใจไม่ใช่น้อย เพราะหลังกลับจากโรงเรียน การบ้านวิชาเลขมักเป็นวิชาที่เด็กไม่ค่อยสนใจหยิบขึ้นมาทำสักเท่าไร     และมีผู้ปกครองมีเคล็ดลับการเลี้ยงลูกมาฝาก
 “ จะให้ลูกทำในสิ่งที่รัก ไม่ต้องการให้ลูกเป็นคนเก่งเรียน แต่จะสอนให้ลูกเก่งกิจกรรมด้วย เพราะเชื่อว่าจะเป็นตัวสร้างทักษะการใช้ชีวิต รู้จักคน และสังคมได้มากขึ้น ไม่ใช่เก่งแต่เอาตัวเองไม่รอด
   
         และการสอนคณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต้อง1+1อย่างเดียวแต่เป็นการสอนในชีวิตประจำวันเช่น    
จะใช้สิ่งที่อยู่รอบตัวลูกทั้งหมด มาดัดแปลง และทำหลักสูตรคณิตศาสตร์ไว้สอนลูก ไม่ว่าจะอยู่ในบ้าน หรือออกไปเที่ยวนอกบ้าน เช่น เวลาเล่านิทานจะสอนให้ลูกนับตัวละครที่อยู่ในเรื่อง หรือเวลาไปซื้อของ ข้างนอกก็จะให้ลูกมีส่วนร่วมกับเราด้วย อาทิ แม่ซื้อลูกอมชิ้นละ บาท มีเงินอยู่ 10 บาท แม่จะได้ลูกอมกี่ชิ้น ซึ่งเราจะเอาตัวเลขเข้ามาเกี่ยวข้องหมด เอาให้เขาเห็นภาพ ซึ่งก็ให้ความร่วมมือดีแต่ถ้าบอกว่าลูกต้องบวกอันนี้กับอันนี้นะ ลบอันนี้สิ เขาจะคิดนานมาก แล้วรู้สึกเบื่อทันที
  
          อย่างไรก็ตาม  ทุกครอบครัวไม่จำเป็นต้องให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์ หรือส่งให้เรียนเพื่อให้เด็กเป็นเลิศ แต่ขอให้ทุกครั้งที่เจอ หรือต้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เด็กไม่วิ่งหนีก็พอ ดังนั้นทุกกิจกรรมที่ทำกันในครอบครัว สามารถเอาไปสร้างเป็นโจทย์ได้หมด ทำให้เด็กสนุก และมีทัศนคติกับวิชาดังกล่าวในทางบวกมากขึ้น
       
       นอกจากนี้เมื่อลูกโตขึ้น ระดับขั้นของคณิตศาสตร์ก็จะเป็นนามธรรมมากขึ้นด้วย พ่อแม่จึงควรเลือกใช้สื่อที่เป็นรูปธรรม หรือสิ่งที่จับ หรือสัมผัสต้องได้ หรือถ้าหาไม่ได้ อาจจะใช้เป็นภาพมาสอนลูกแทน เพราะเด็กจะเข้าใจ และเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น มากกว่าเรียนกับตัวเลขเพียงอย่างเดียว
       
       การสร้างลูกน้อยให้รัก ตัวเลข” ตั้งแต่เล็ก จะเป็นสะพานเชื่อมให้เด็กมีทัศนคติในทางบวกต่อวิชา คณิตศาสตร์” ในวัยถัดมาได้เป็นอย่างดี เพียงเริ่มต้นด้วยความใส่ใจ และความสนใจจากครอบครัว เท่านี้ก็จะไม่มีคำว่า ยาก” ออกมาจากปากเด็กในชั้นเรียนคณิตศาสตร์อีกต่อไป แต่จะมีคำว่า สนุก และอยากเรียน” ออกมาแทน
       

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559



สรุปวิจัย


 ผู้วิจัย        ประกายดาว    ใจคำปัน

 ทำวิจัย      ศึกษาการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทหลัก เพื่อสร้างความเข้าใจเชิงมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานในการเรียนการสอนให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยต่อไป

ใช้กลุ่มตัวอย่างจาก    โรงเรียนชุมชนบ้านท่าข้าม  อำเภอฮอด  จังหวัดเชียงใหม่

ทำอย่างไร
      
         1.     ในการอธิบายสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ควรยกตัวอย่างประกอบมากๆ
             2.     ใช้อุปกรณ์การสอนประกอบการสอนให้เหมาะสมกับเรื่องที่กำลังสอน
             3.     พยายามให้นักเรียนได้รับประสบการณ์โดยตรง ให้เห็นของจริงมากที่สุด
             4.     ฝึกให้นักเรียนสังเกตและแยกแยะ เอาลักษณะเฉพาะของเรื่องต่างๆออกมาให้เห็นเด่น
                             ชัดเจนได้
             5.     หัดให้นักเรียนคิดหาเหตุผลอยู่เสอม
             6.     ให้โอกาสนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือทำงานเอง

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559



บันทึกการเรียน 

ครั้งที่ 1

วันศุกร์  ที่ มกราคม พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่เรียน
       

       อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนบ่งบอกลักษณะเด่นของตนเอง โดยที่ไม่ต้องเขียนชื่อ และหลังจากนั้นอาจารย์จะอ่านลักษณะเด่นแล้วสังเกตว่าที่อ่านไปนั้นเป็นลักษณะเด่นของนักศึกษาคนไหน ที่ทำแบบนี้ก็เพื่อให้นักศึกษารู้ว่าการเป็นครูปฐมวัยต้องจำเด็กได้ จำชื่อ จำลักษณะของเด็กให้ได้โดยการหาจุดเด่นของเด็กแต่ละคน 

        ในการแจกกระดาษก่อนจะทำกิจกรรม อาจารย์สั่งว่ากระดาษ แผ่นให้แบ่งเป็น ส่วนเท่าๆกัน คือแต่ละกลุ่มก็ฉีกของใครของมัน และอาจารย์ก็ตั้งคำถามว่า จะมีวิธีอื่นอีกหรือไม่ถ้าจะทำให้การแบ่งกระดาษมันง่ายขึ้น เร็วขึ้น เพื่อนก็ช่วยกันตอบคำถามและหาวิธีต่างๆมา อาจารย์จึงบอกว่าการตั้งปัญหาต้องได้รับการแก้ปัญหา ถ้าเปรียบระหว่างคนกับกระดาษตอนนี้ใครเยอะกว่ากัน (ณ ตอนนั้นกระดาษเหลือเศษ 1 แผ่น) กระดาษเหลือเยอะกว่าคน ถ้าในทางการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กสามารถสอนเรื่องอะไรให้กับเด็กได้ นั้นคือเรื่อง การบวกการลบ ระหว่างจำนวนคนและจำนวนกระดาษค่ะ

         การแนะนำการทำ Blogger อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนไปสร้างบล็อกสำหรับวิชานี้ โดยแจ้งรายละเอียดที่ต้องมีในการบล็อก

         สั่งการบ้าน (เป็นงานนำเสนอรายอาทิตย์) หนูได้นำเสนอเกี่ยวกับ ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



ทักษะ/การระดมความคิด
          
          เกิดกระบวนการคิดในการตอบปัญหาที่อาจารย์ถามเกี่ยวกับเรื่องจำนวนคนและจำนวนกระดาษ และระดมความคิดเกี่ยวกับการหาวิธีในการแบ่งส่วนกระดาษ